สมองส่วนท้าย (Hind brain)
วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2559
สมองส่วนกลาง
สมองส่วนกลาง (Midbrain)
Oftic Lobe
- เป็นสมองที่ต่อจากสมองส่วนหน้า เป็นสถานีรับส่งประสาท ระหว่างสมองส่วนหน้ากับส่วนท้ายและส่วนหน้ากับนัยน์ตา
ทำหน้าที่
ในมนุษย์สมองส่วน obtic lobe นี้จะเจริญไปเป็น Corpora quadrigermia ทำหน้าที่เกี่ยวกับการได้ยิน
|
สมองส่วนกลาง (Mesencephalon) | |
---|---|
มุมมองด้านล่างของสมอง แสดงสมองส่วนกลาง (2) | |
ก้านสมองของมนุษย์ แสดงสมองส่วนกลาง (B) | |
ละติน | mesencephalon |
Gray's | subject #188 800 |
NeuroNames | hier-445 |
MeSH | Mesencephaloในทางกายวิภาคศาสตร์ สมองส่วนกลาง หรือ มีเซนเซฟาลอน (อังกฤษ: Mesencephalon; Midbrain) เป็นโครงสร้างหนึ่งของสมอง ประกอบด้วยเทคตัม (tectum) (หรือคอร์พอรา ควอไดรเจมินา (corpora quadrigemina)), เทกเมนตัม (tegmentum), เวนทริคิวลาร์ มีโซซีเลีย (ventricular mesocoelia), และซีรีบรัล พีดังเคิล (cerebral peduncle) นอกจากนี้ก็มีนิวเคลียสและมัดใยประสาทจำนวนมากมาย ด้านบนของสมองส่วนกลางเชื่อมกับไดเอนเซฟาลอน (diencephalon) ซึ่งประกอบด้วยทาลามัส ไฮโปทาลามัส ฯลฯ ส่วนด้านท้ายของสมองส่วนกลางเชื่อมกับพอนส์ (pons)สมองส่วนกลางเป็นส่วนหนึ่งของก้านสมอง ภายในมีส่วนเรียกว่าซับสแตนเชีย ไนกรา (substantia nigra) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมระบบสั่งการของเบซัล แกงเกลีย (basal ganglia) ซึ่งริเริ่มและควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย |
สมองส่วนกลางพัฒนามาจากกระเปาะกลางของท่อประสาทหรือนิวรัล ทูบ (neural tube) ซึ่งจะพัฒนาเป็นสมองส่วนต่างๆ ต่อไป ในจำนวนกระเปาะทั้งสามของนิวรัล ทูบ พบว่าสมองส่วนกลางเป็นส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงระหว่างพัฒนาการน้อยที่สุดทั้งในแง่รูปแบบพัฒนาการและโครงสร้างภายในของมัน
สมองส่วนกลางของมนุษย์มีต้นกำเนิดเดียวกับ archipallium ซึ่งเป็นวิวัฒนาการของสมองในสัตว์มีกระดูกสันหลังโบราณส่วนใหญ่ สารโดพามีนซึ่งสร้างในซับสแตนเชีย ไนกรามีบทบาทในการปรับตัวและการจูงใจในสิ่งมีชีวิตตั้งแต่มนุษย์ไปจนถึงสัตว์ชั้นต่ำอย่างเช่นแมลง
คอร์พอรา ควอไดรเจมินา
คอร์พอรา ควอไดรเจมินา (อังกฤษ: Corpora quadrigemina) มีลักษณะเป็นตุ่มนูนสี่ก้อนที่ด้านหลังของท่อน้ำสมอง(cerebral aqueduct) ตุ่มนูนคู่ที่บนเรียกว่าซุพีเรียร์ คอลลิคูลัส (superior colliculus) ส่วนคู่ล่างเรียกว่าอินฟีเรียร์ คอลลิคูลัส(inferior colliculus) โครงสร้างนี้ช่วยในการไขว้ทแยงของเส้นใยประสาทตา โดยซุพีเรียร์ คอลลิคูลัสเกี่ยวข้องกับการกลอกตาไปหาวัตถุ ส่วนอินฟีเรียร์ คอลลิคูลัสทำหน้าที่ในการเชื่อมการมองเห็นกับสัญญาณเสียง กล่าวคือช่วยในการมองตามเสียงที่ได้ยิน บริเวณนี้มีเส้นประสาทสมองคู่ที่ 4 ชื่อว่าเส้นประสาททรอเคลียร์ (trochlear nerve) ออกจากพื้นผิวด้านหลังของสมองส่วนกลางใต้อินฟีเรียร์ คอลลิคูลัส
ซีรีบรัล พีดังเคิล
ซีรีบรัล พีดังเคิล (อังกฤษ: cerebral peduncles) หรือฐานซีรีบรัม มีลักษณะเป็นคู่อยู่ที่ด้านหลังของท่อน้ำสมอง ทำหน้าที่เป็นเส้นทางผ่านของลำเส้นใยประสาทคอร์ติโคสไปนัล (corticospinal tract) ซึ่งมาจากอินเทอร์นัล แคปซูล (internal capsule) ไปยังไขสันหลังเพื่อสั่งการการเคลื่อนไหวของร่างกาย ตรงกลางของซีรีบรัล พีดังเคิลมีซับสแตนเชีย ไนกรา (substantia nigra; แปลว่า "เนื้อสีดำ") ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย ส่วนนี้เป็นเพียงส่วนเดียวของสมองที่มีเม็ดสีเมลานิน
ระหว่างฐานซีรีบรัมทั้งสองมีแอ่งเรียกว่า อินเตอร์เวนทริคิวลาร์ ฟอซซา (interpeduncular foss) เป็นแอ่งที่เต็มไปด้วยน้ำหล่อสมองไขสันหลัง บริเวณนี้มีเส้นประสาทกล้ามเนื้อตา (oculomotor nerve) ออกมาจากระหว่างฐานซีรีบรัม เส้นประสาทนี้ทำหน้าที่หดรูม่านตาและกลอกตา นอกจากนี้บริเวณนี้จะเห็นเส้นประสาททรอเคลียร์วิ่งโอบรอบด้านนอกของซีรีบรัล พีดังเคิล
ภาพตัดขวางของสมองส่วนกลาง
ภาพตัดขวางของสมองส่วนกลางที่ระดับซุพีเรียร์ คอลลิคูลัสแสดงเรด นิวเคลียส นิวเคลียสของเส้นประสาทกล้ามเนื้อตารวมทั้งเอดิงเงอร์-เวสท์ฟัล นิวเคลียส (Edinger-Westphal nucleus) รวมทั้งซับสแตนเชีย ไนกรา
ซับสแตนเชีย ไนกรายังปรากฏในภาพตัดขวางที่ระดับอินฟีเรียร์ คอลลิคูลัส นอกจากนี้ที่ระดับนี้ยังมีนิวเคลียสของเส้นประสาททรอเคลียร์ และเส้นทางไขว้ทแยงของฐานซีรีเบลลัม (superior cerebellar peduncles)
ท่อน้ำสมองวิ่งผ่านตลอดความยาวของสมองส่วนกลาง เชื่อมระหว่างโพรงสมองที่สามและโพรงสมองที่สี่
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)