วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2559

สมองส่วนท้าย

สมองส่วนท้าย (Hind brain)

Cerebellum


        เซรีเบลลัม (cerebellum)  

ประกอบด้วย  เนื้อเยื่อ  2  ชั้น 
-  ชั้นนอกเรียกว่า  คอร์เทกซ์  (cortex)  มีสีเทา
-  ชั้นในมีสีขาว  แตกกิ่งก้านสาขาคล้ายกิ่งไม้

        ทำหน้าที่  
ประสานการเคลื่อนไหวของร่างกายให้สามารถทำงานได้อย่างละเอียดอ่อน   ควบคุมการทรงตัวของร่างกาย

Medulla Oblongata


เมดัลลาออบลองกาตา (medulla oblongata)
        เป็นส่วนสุดท้ายของสมองต่อจากพอนส์ ตอนปลายติดกับไขสันหลัง สมองส่วนนี้
มีการเปลี่ยนรูปร่างจากเดิมน้อยที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับสมองส่วนอื่นๆ 

ทำหน้าที่  
    ควบคุมการทำงานของระบบประสาทอัตโนวัติ เป็นทางผ่านของกระเเสประสาทระหว่างสมอง 
กับไขสันหลัง ควบคุมการเต้นของหัวใจ การหายใจ ความดันเลือด การกลืน การจาม
การสะอึก การอาเจียน

Pons

พอนส์ (pons)

        อยู่ทางด้ายหลังของเซรีบรัม ประกอบด้วยมัดของเเถบประสาทเป็นทางผ่านของกระเเสประสาทระหว่างซีรีบรัมเเละซีรีเบลลัม

ทำหน้าที่  
    ควบคุมการเคี้ยว การหลั่งน้ำลาย การเคลื่อนไหวของใบหน้า ควบคุมการหายใจเป็นทางผ่านของกระแสประสาทระหว่าง        เซรีบรัมกับเซรีเบลลัม และเซรีเบลรัมกับไขสันหลัง

สมองส่วนกลาง

สมองส่วนกลาง (Midbrain)

Oftic Lobe


สมองส่วนกลาง (Midbrain)
        - เป็นสมองที่ต่อจากสมองส่วนหน้า เป็นสถานีรับส่งประสาท ระหว่างสมองส่วนหน้ากับส่วนท้ายและส่วนหน้ากับนัยน์ตา

ทำหน้าที่
        เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของลูกตาและม่านตาจะเจริญดีในสัตว์พวกปลา กบ ฯลฯ
ในมนุษย์สมองส่วน obtic lobe นี้จะเจริญไปเป็น Corpora quadrigermia ทำหน้าที่เกี่ยวกับการได้ยิน

สมองส่วนกลาง
(Mesencephalon)
Human brain inferior view description.JPG
มุมมองด้านล่างของสมอง แสดงสมองส่วนกลาง (2)
Human brainstem-thalamus posterior view description.JPG
ก้านสมองของมนุษย์ แสดงสมองส่วนกลาง (B)
ละตินmesencephalon
Gray'ssubject #188 800
NeuroNameshier-445
MeSHMesencephaloในทางกายวิภาคศาสตร์ สมองส่วนกลาง หรือ มีเซนเซฟาลอน (อังกฤษ: Mesencephalon; Midbrain) เป็นโครงสร้างหนึ่งของสมอง ประกอบด้วยเทคตัม (tectum) (หรือคอร์พอรา ควอไดรเจมินา (corpora quadrigemina)), เทกเมนตัม (tegmentum), เวนทริคิวลาร์ มีโซซีเลีย (ventricular mesocoelia), และซีรีบรัล พีดังเคิล (cerebral peduncle) นอกจากนี้ก็มีนิวเคลียสและมัดใยประสาทจำนวนมากมาย ด้านบนของสมองส่วนกลางเชื่อมกับไดเอนเซฟาลอน (diencephalon) ซึ่งประกอบด้วยทาลามัส ไฮโปทาลามัส ฯลฯ ส่วนด้านท้ายของสมองส่วนกลางเชื่อมกับพอนส์ (pons)สมองส่วนกลางเป็นส่วนหนึ่งของก้านสมอง ภายในมีส่วนเรียกว่าซับสแตนเชีย ไนกรา (substantia nigra) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมระบบสั่งการของเบซัล แกงเกลีย (basal ganglia) ซึ่งริเริ่มและควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย
สมองส่วนกลางพัฒนามาจากกระเปาะกลางของท่อประสาทหรือนิวรัล ทูบ (neural tube) ซึ่งจะพัฒนาเป็นสมองส่วนต่างๆ ต่อไป ในจำนวนกระเปาะทั้งสามของนิวรัล ทูบ พบว่าสมองส่วนกลางเป็นส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงระหว่างพัฒนาการน้อยที่สุดทั้งในแง่รูปแบบพัฒนาการและโครงสร้างภายในของมัน
สมองส่วนกลางของมนุษย์มีต้นกำเนิดเดียวกับ archipallium ซึ่งเป็นวิวัฒนาการของสมองในสัตว์มีกระดูกสันหลังโบราณส่วนใหญ่ สารโดพามีนซึ่งสร้างในซับสแตนเชีย ไนกรามีบทบาทในการปรับตัวและการจูงใจในสิ่งมีชีวิตตั้งแต่มนุษย์ไปจนถึงสัตว์ชั้นต่ำอย่างเช่นแมลง

คอร์พอรา ควอไดรเจมินา

คอร์พอรา ควอไดรเจมินา (อังกฤษ: Corpora quadrigemina) มีลักษณะเป็นตุ่มนูนสี่ก้อนที่ด้านหลังของท่อน้ำสมอง(cerebral aqueduct) ตุ่มนูนคู่ที่บนเรียกว่าซุพีเรียร์ คอลลิคูลัส (superior colliculus) ส่วนคู่ล่างเรียกว่าอินฟีเรียร์ คอลลิคูลัส(inferior colliculus) โครงสร้างนี้ช่วยในการไขว้ทแยงของเส้นใยประสาทตา โดยซุพีเรียร์ คอลลิคูลัสเกี่ยวข้องกับการกลอกตาไปหาวัตถุ ส่วนอินฟีเรียร์ คอลลิคูลัสทำหน้าที่ในการเชื่อมการมองเห็นกับสัญญาณเสียง กล่าวคือช่วยในการมองตามเสียงที่ได้ยิน บริเวณนี้มีเส้นประสาทสมองคู่ที่ 4 ชื่อว่าเส้นประสาททรอเคลียร์ (trochlear nerve) ออกจากพื้นผิวด้านหลังของสมองส่วนกลางใต้อินฟีเรียร์ คอลลิคูลัส

ซีรีบรัล พีดังเคิล

ซีรีบรัล พีดังเคิล (อังกฤษ: cerebral peduncles) หรือฐานซีรีบรัม มีลักษณะเป็นคู่อยู่ที่ด้านหลังของท่อน้ำสมอง ทำหน้าที่เป็นเส้นทางผ่านของลำเส้นใยประสาทคอร์ติโคสไปนัล (corticospinal tract) ซึ่งมาจากอินเทอร์นัล แคปซูล (internal capsule) ไปยังไขสันหลังเพื่อสั่งการการเคลื่อนไหวของร่างกาย ตรงกลางของซีรีบรัล พีดังเคิลมีซับสแตนเชีย ไนกรา (substantia nigra; แปลว่า "เนื้อสีดำ") ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย ส่วนนี้เป็นเพียงส่วนเดียวของสมองที่มีเม็ดสีเมลานิน
ระหว่างฐานซีรีบรัมทั้งสองมีแอ่งเรียกว่า อินเตอร์เวนทริคิวลาร์ ฟอซซา (interpeduncular foss) เป็นแอ่งที่เต็มไปด้วยน้ำหล่อสมองไขสันหลัง บริเวณนี้มีเส้นประสาทกล้ามเนื้อตา (oculomotor nerve) ออกมาจากระหว่างฐานซีรีบรัม เส้นประสาทนี้ทำหน้าที่หดรูม่านตาและกลอกตา นอกจากนี้บริเวณนี้จะเห็นเส้นประสาททรอเคลียร์วิ่งโอบรอบด้านนอกของซีรีบรัล พีดังเคิล

ภาพตัดขวางของสมองส่วนกลาง


ภาพตัดขวางของสมองส่วนกลาง
ภาพตัดขวางของสมองส่วนกลางที่ระดับซุพีเรียร์ คอลลิคูลัสแสดงเรด นิวเคลียส นิวเคลียสของเส้นประสาทกล้ามเนื้อตารวมทั้งเอดิงเงอร์-เวสท์ฟัล นิวเคลียส (Edinger-Westphal nucleus) รวมทั้งซับสแตนเชีย ไนกรา
ซับสแตนเชีย ไนกรายังปรากฏในภาพตัดขวางที่ระดับอินฟีเรียร์ คอลลิคูลัส นอกจากนี้ที่ระดับนี้ยังมีนิวเคลียสของเส้นประสาททรอเคลียร์ และเส้นทางไขว้ทแยงของฐานซีรีเบลลัม (superior cerebellar peduncles)
ท่อน้ำสมองวิ่งผ่านตลอดความยาวของสมองส่วนกลาง เชื่อมระหว่างโพรงสมองที่สามและโพรงสมองที่สี่

วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

สมองส่วนหน้า

สมองส่วนหน้า (Forebrain)

1.Cerebrum

* หมายเหตุ Cerebrum ประกอบด้วย Rrontal lobe , Pariental lobe , Occipital lobe , Temporal lobe

เซรีบรัม 
เซรีบรัม คือ สมองส่วนที่อยู่บนสุดและมีขนาดใหญ่ที่สุด ซึ่งมีน้ำหนักรวมกันประมาณร้อยละ 85 ของน้ำหนักสมองทั้งหมด

ลักษณะที่สำคัญ 
1.ชั้นอกหนาประมาณ 3 มิลลิเมตร เรียกว่า เซรีบรัมคอร์เทกซ์ (cerebrum cortex) มีรอยพับเป็นร่องหรือรอยหยักจำนวนมาก และมีเนื้อสมองสีเทา ที่ประกอบด้วยตัวเซลล์ประสาทจำนวนมากและใยประสาทที่ไม่มีเยื้อหุ้มไมอีลินหุ้มเป็นส่วนใหญ่
2.ภายใต้เซรีบรัมคอร์เทกซ์ เป็นชั้นหนาของเนื้อสีขาว ประกอบด้วย แอกซอนที่มีเยื่อไมอีลินหุ้มเป็นส่วนใหญ่ ทำให้มีลักษณะเป็นสีขาวเนื่องจากเยื่อไขมันไมอีลิน
3.เซรีบรัมแบ่งออกเป็น 2 ซีกด้วยร่องลึกตรงกลาง มีมัดเส้นใยแอกซอนหลายมัดติดต่อระหว่าง 2 ซีก มัดใหญ่ที่สุดเรียกว่า corpus callosum สมองแต่ละซีกทำหน้าที่ควบคุมกล้ามเนื้อซีกตรงข้ามของร่างกาย
4.ร่องหรือรอยหยักแบ่งเซรีบรัมคอร์เทกซ์ออกเป็นส่วนๆชัดเจน 4 พู (lobe) ได้แก่
Frontal lobe - ศูนย์ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อลาย (motor area)
- ศูนย์ควบคุมเกี่ยวกับการพูด
- ควบคุมเกี่ยวกับบุคลิกภาพ
- ควบคุมความฉลาดระดับสูง ได้แก่ สมาธิ การวางแผน การตัดสินใจ
Parietal lobe - ศูนย์ควบคุมการรับความรู้สึก (sensory area)
- ความเข้าใจและการใช้คำพูด
Temporal lobe - ศูนย์การได้ยิน (auditory area)
- ความจำ (memory area)
Occipital lobe - ศูนย์การมองเห็น (visual area) เช่น การเพ่งมอง การแปลสิ่งที่มอง

2.Hypothamus

เป็นสมองส่วนที่เป็นทางติดต่อกับเซรีบรัมกับก้านสมอง โดยไฮโพทาลามัสอยู่ใต้ทาลามัส และค่อนไปทางด้านหน้าติดกับต่อมใต้สมองส่วนหน้า (pituitary gland)
หน้าที่ของไฮโพทาลามัส

มีหน้าที่หลักเกี่ยวข้องกับการผสมผสานการทำงานของระบบประสาทกับอวัยวะต่างๆให้สอดคล้องกัน
1.ศูนย์ควบคุมการเต้นของหัวใจ (cardiovascular regulation)
2.ศูนย์ควบคุมอุณหภูมิ (body temperature regulation)
3.ศูนย์ควบคุมสมดุลน้ำและเกลือแร่ (regulation of water and electrolyte balance)
4.ศูนย์ควบคุมการนอนหลับ ความหิว ความอิ่ม ความกระหาย
5.ศูนย์ควบคุมอารมณ์และความรู้สึกต่างๆ
6.สร้างฮอร์โมนประสาทที่ส่งไปควบคุมการหลั่งฮอร์โมนของต่อมใต้สมองส่วนหน้า


3.Olfactory Bulb

        
ทำหน้าที่

    - ดมกลิ่น (ปลา , กบและสัตว์เลื้อยคลานสมองส่วนนี้จะมีขนาดใหญ่) ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมออลแฟกทอรีบัลบ์จะไม่เจริญ แต่จะดมกลิ่นได้ดีโดยอาศัยเยื่อบุในโพรงจมูก

4.Thalamus


        ทาลามัส (Thalamus
    เป็นศูนย์รวมกระแสที่ผ่านเขาออก และแยกกระแสประสาทไปยังสมองที่ เกี่ยวกับประสาทนั้น หรืออาจเรียกว่าเป็นสถานีถ่ายถอดกระแสประสาทเพื่อส่งไปยังจุดต่างๆ ในสมอง และยังทำหน้าที่ในการรับรู้ความเจ็บปวด ทำให้มีการสั่งการ และสดงออกด้านพฤติกรรมด้านความเจ็บปวด
ทาลามัสอยู่เป็นคู่ตั้งอยู่ใจกลางสมองของสัตว์มี กระดูกสันหลังรวมทั้งมนุษย์ด้วย ทาลามัสอยู่ระหว่างเปลือกสมองใหญ่ (Cerebral Cortex) กับสมองส่วนกลาง (Mid brain) ที่ตั้งอยู่ใจกลาง และเป็นศูนย์ศูนย์รวมประสาทสั่งการ มีหน้าที่ส่งผ่านกระแสประสาทประสาทสัมผัสจำเพาะ(Special Sense)และส่งผ่านไปยัง(Cerebral Cortex)หรือเปลือกสมองใหญ่ เป็นไปตามภาวะปกติของความมีสติ (Conciousness) ในยามหลับและยามตื่น ทาลามัสจะห้อมล้อมรอบๆ เซอด เวนตริเคิล (Third Ventricle)
มัน เป็นผลผลิตหลักของเอ็มบริโอนิค ไดเอนซีฟาโลน (Cmbryonic Diencephalon) หรือตัวอ่อนของสมองส่วนกลางทาลามัสเป็นโครงสร้างใหญ่สุดของสมองส่วนกลาง ซึ่งเป็นส่วนของสมองที่ตั้งอยู่ระหว่างสมองส่วนกลาง (Mid brain) มีเซนซีฟาโลน และสมองส่วนหน้า เทเลซีฟาโลน (Telecephalon)
ในมนุษย์ ครึ่งหนึ่งของทาลามัสแต่ละอันมีรูปร่างเหมือนจุกยางกลมๆคล้ายปลายเทอร์โมมิเตอร์ สามารถบีบและคลายตัวได้

ด้านสรีระ

        ทาลามัสอยู่บนสุดของก้านสมอง ใกล้กลับใจกลางของสมองอยู่ในตำแหน่งที่สามารถส่งกระแสประสาทออกไปสู้ส่วน ต่างของสมองได้ในทุกทิศทางสมองส่วนกลาง (Diencephalon) ยังประกอบด้วย อิพทาลามัส (Epithalamus) และเรติลูเลทนิวเคลียส (Reticulate Nucleus)

หน้าที่

       
    หน้าที่
    หน้าที่โดยทั่วไปคือ ส่งผ่านระหว่าง ซับตอร์ทีคอล (Subcortical) และเปลือกสมองใหญ่ (Cerebral Cortex) หน้าที่สำคัญ คือ ช่วยในการทำงานของระบบสัมผัส (Special Sense) ทาลามิคนิวเคลียสจะรับและส่งต่อข้อมูลไปยังส่วนแรกของคอร์ทีคอล (Cortical Area) เช่นรับภาพจากจอภาพตาหรือเรตินาแล้วส่งไป เลเทอรัล เจนิคูเลท นิวเคลียส (Lateral Geniculate Nucleus) ในทาลามัสซึ่งจะฉ่ายไปสู่ส่วนแรกของสมองที่รับรู้ความรู้สึกในการมองเห็น ไพรมารี วิซอน คอร์เทกซ์ (Primary visval cortex) ในกรีบท้ายทอยหรือออคซิพิตัลลู๊บ (Occital Lode) ทาลามัสจะดำเนินการทั้งรับรู้ข้อมูลและส่งผ่านข้อมูลทาลามัสจะคอยควบคุมความมี สติ การตื่นเต้นการระมัดระวังการแสดงออก ถ้าทาลามัสถูกทำลาย จะทำให้ร่างกายเกิดอาการเจ็บปวดรุนแรงที่เรียกว่าโคม่า

วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ส่วนประกอบของสมอง

ส่วนประกอบของสมอง

ส่วนประกอบสมองของมนุษย์ สามารถแบ่งได้เป็น 3 ส่วนดังนี้
          สมองส่วนหน้า (Forebrain) มีขนาดใหญ่ที่สุด มีรอยหยักเป็นจำนวนมาก
สามารถแบ่งออกได้อีก ดังนี้
      -ออลเฟกทอรีบัลบ์ (olfactory bulb) อยู่ด้านหน้าสุด ทำหน้าที่ - ดมกลิ่น (ปลา,กบ และสัตว์เลื้อยคลานสมองส่วนนี้จะมีขนาดใหญ่) ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมออแฟกทอรีบัลบ์จะไม่เจริญ แต่จะดมกลิ่นได้ดีโดยอาศัยเยื่อบุในโพรงจมูก
     -ซีรีบรัม (Cerebrum) มีขนาดใหญ่สุด มีรอยหยักเป็นจำนวนมาก ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ ความสามารถต่างๆ เป็นศูนย์การทำงานของกล้ามเนื้อ การพูด การมองเห็น การดมกลิ่น การชิมรส แบ่งเป็นสองซีก แต่ละซีกเรียกว่า Cerebral hemisphere และแต่ละซีกจะแบ่งได้เป็น 4 พูดังนี้
1.Frontal lobe
2.Temporal lobe 
3.Occipital lobe 
4.Parietal lobe 
    -ทาลามัส (Thalamus) เป็นศูนย์รวมกระแสที่ผ่านเขาออก และแยกกระแสประสาทไปยังสมองที่เกี่ยวกับประสาทนั้น หรืออาจเรียกว่าเป็นสถานีถ่ายถอดกระแสประสาทเพื่อส่งไปยังจุดต่างๆ ในสมอง และยังทำหน้าที่ในการรับรู้ความเจ็บปวด ทำให้มีการสั่งการ และสดงออกด้านพฤติกรรมด้านความเจ็บปวด ทาลามัสอยู่เป็นคู่ตั้งอยู่ใจกลางสมองของสัตว์มีกระดูกสันหลังรวมทั้งมนุษย์ด้วย ทาลามัสอยู่ระหว่างเปลือกสมองใหญ่ (Cerebral Cortex) กับสมองส่วนกลาง (Mid brain) ที่ตั้งอยู่ใจกลาง และเป็นศูนย์ศูนย์รวมประสาทสั่งการ มีหน้าที่ส่งผ่านกระแสประสาท ประสาทสัมผัสจำเพาะ(Special Sense)และส่งผ่านไปยัง(Cerebral Cortex)หรือเปลือกสมองใหญ่ เป็นไปตามภาวะปกติของความมีสติ (Conciousness) ในยามหลับและยามตื่น ทาลามัสจะห้อมล้อมรอบๆ เซอด เวนตริเคิล (Third Ventricle) มันเป็นผลผลิตหลักของเอ็มบริโอนิค ไดเอนซีฟาโลน (Cmbryonic Diencephalon) หรือตัวอ่อนของสมองส่วนกลางทาลามัสเป็นโครงสร้างใหญ่สุดของสมองส่วนกลาง ซึ่งเป็นส่วนของสมองที่ตั้งอยู่ระหว่างสมองส่วนกลาง (Mid brain) มีเซนซีฟาโลน และสมองส่วนหน้า เทเลซีฟาโลน (Telecephalon) ในมนุษย์ ครึ่งหนึ่งของทาลามัสแต่ละอันมีรูปร่างเหมือนจุกยางกลมๆคล้ายปลายเทอร์โมมิเตอร์ สามารถบีบและคลายตัวได้ทาลามัสอยู่บนสุดของก้านสมอง ใกล้กลับใจกลางของสมองอยู่ในตำแหน่งที่สามารถส่งกระแสประสาทออกไปสู้ส่วนต่างของสมองได้ในทุกทิศทางสมองส่วนกลาง (Diencephalon) ยังประกอบด้วย อิพทาลามัส (Epithalamus) และเรติลูเลทนิวเคลียส (Reticulate Nucleus)ทาลามัสมีหลายหน้าที่หน้าที่โดยทั่วไปคือ ส่งผ่านระหว่าง ซับตอร์ทีคอล(Subcortical) และเปลือกสมองใหญ่ (Cerebral Cortex) หน้าที่สำคัญ คือ ช่วยในการทำงานของระบบสัมผัส (Special Sense) ทาลามิคนิวเคลียสจะรับและส่งต่อข้อมูลไปยังส่วนแรกของคอร์ทีคอล (Cortical Area) เช่นรับภาพจากจอภาพตาหรือเรตินาแล้วส่งไป เลเทอรัล เจนิคูเลท นิวเคลียส (Lateral Geniculate Nucleus) ในทาลามัสซึ่งจะฉ่ายไปสู่ส่วนแรกของสมองที่รับรู้ความรู้สึกในการมองเห็น ไพรมารี วิซอน คอร์เทกซ์ (Primary visval cortex) ในกรีบท้ายทอยหรือออคซิพิตัลลู๊บ (Occital Lode) ทาลามัสจะดำเนินการทั้งรับรู้ข้อมูลและส่งผ่านข้อมูลทาลามัสจะคอยควบคุมความมีสติ การตื่นเต้นการระมัดระวังการแสดงออก ถ้าทาลามัสถูกทำลาย จะทำให้ร่างกายเกิดอาการเจ็บปวดรุนแรงที่เรียกว่าโคม่า
       -ไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) - ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของระบบประสาทอัตโนมัติ และสร้างฮอร์โมนเพื่อควบคุมการผลิตฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองซึ่งจะทำการควบคุมสมดุลของปริมาณน้ำและสารละลายในเลือด และยังเกี่ยวกับการควบคุมอุณหภูมิร่างกาย อารมณ์ความรู้สึก วงจรการตื่นและการหลับ การหิว การอิ่ม และความรู้สึกทางเพศ
สมองส่วนกลาง (Midbrain)
เป็นสมองที่ต่อจากสมองส่วนหน้า เป็นสถานีรับส่งประสาท ระหว่างสมองส่วนหน้ากับส่วนท้ายและส่วนหน้ากับนัยน์ตาทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของลูกตาและม่านตาจะเจริญดีในสัตว์พวกปลา กบ ฯลฯ ในมนุษย์สมองส่วน obtic lobe นี้จะเจริญไปเป็น Corpora quadrigermia ทำหน้าที่เกี่ยวกับการได้ยิน สมองส่วนกลาง หรือ มีเซนเซฟาลอน (Mesencephalon; Midbrain) เป็นโครงสร้างหนึ่งของสมอง ประกอบด้วยเทคตัม (tectum) (หรือคอร์พอรา ควอไดรเจมินา (corpora quadrigemina), เทกเมนตัม (tegmentum), เวนทริคิวลาร์ มีโซซีเลีย (ventricular mesocoelia), และซีรีบรัล พีดังเคิล (cerebral peduncle) นอกจากนี้ก็มีนิวเคลียสและมัดใยประสาทจำนวนมากมาย ด้านบนของสมองส่วนกลางเชื่อมกับไดเอนเซฟาลอน (diencephalon) ซึ่งประกอบด้วยทาลามัส ไฮโปทาลามัส ฯลฯ ส่วนด้านท้ายของสมองส่วนกลางเชื่อมกับพอนส์ (pons) สมองส่วนกลางเป็นส่วนหนึ่งของก้านสมอง ภายในมีส่วนเรียกว่าซับสแตนเชีย ไนกรา (substantia nigra) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมระบบสั่งการของเบซัล แกงเกลีย (basal ganglia) ซึ่งริเริ่มและควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย สมองส่วนกลางพัฒนามาจากกระเปาะกลางของท่อประสาทหรือนิวรัล ทูบ (neural tube) ซึ่งจะพัฒนาเป็นสมองส่วนต่างๆ ต่อไป ในจำนวนกระเปาะทั้งสามของนิวรัล ทูบ พบว่าสมองส่วนกลางเป็นส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงระหว่างพัฒนาการน้อยที่สุดทั้งในแง่รูปแบบพัฒนาการและโครงสร้างภายในของมันสมองส่วนกลางของมนุษย์มีต้นกำเนิดเดียวกับ archipallium ซึ่งเป็นวิวัฒนาการของสมองในสัตว์มีกระดูกสันหลังโบราณส่วนใหญ่ สารโดพามีนซึ่งสร้างในซับสแตนเชีย ไนกรามีบทบาทในการปรับตัวและการจูงใจในสิ่งมีชีวิตตั้งแต่มนุษย์ไปจนถึงสัตว์ชั้นต่ำอย่างเช่นแมลง
 
สมองส่วนท้าย (Hindbrain)ประกอบด้วย
        -พอนส์ (Pons) อยู่ด้านหน้าของซีรีเบลลัม ติดกับสมองส่วนกลาง ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานบางอย่างของร่างกาย เช่น การเคี้ยวอาหาร การหลั่งน้ำลาย การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า การหายใจ การฟัง
เมดัลลา (Medulla) เป็นสมองส่วนท้ายสุด ต่อกับไขสันหลัง เป็นทางผ่านของกระแสประสาทระหว่างสมองกับไขสันหลัง เป็นศูนย์กลางการควบคุมการทำงานเหนืออำนาจจิตใจ เช่น ไอ จาม สะอึก หายใจ การเต้นของหัวใจ เป็นต้น
       -ซีรีเบลลัม หรือ สมองน้อย (Cerebellum) เป็นบริเวณของสมองที่ทำหน้าที่สำคัญในการประมวลการรับรู้และการควบคุมการสั่งการ เนื่องจากซีรีเบลลัมทำหน้าที่ประสานการควบคุมการสั่งการ จึงมีวิถีประสาทเชื่อมระหว่างซีรีเบลลัมและคอร์เท็กซ์สั่งการของซีรีบรัม (ซึ่งจะส่งข้อมูลไปยังกล้ามเนื้อเพื่อเคลื่อนไหว) และลำเส้นใยประสาทสไปโนซีรีเบลลาร์(spinocerebellar tract) (ซึ่งทำหน้าที่ส่งข้อมูลการรับรู้อากัปกิริยาจากไขสันหลังกลับมายังซีรีเบลลัม) ซีรีเบลลัมทำหน้าที่ประมวลวิถีประสาทต่างๆ โดยใช้ข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งของร่างกายและการเคลื่อนไหวละเอียดที่ส่งกลับเข้ามา รอยโรคที่เกิดในซีรีเบลลัมไม่ก่อให้เกิดกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือทำให้เกิดอัมพาต แต่จะเกิดความผิดปกติในการส่งข้อมูลกลับซึ่งทำให้เกิดความผิดปกติในการเคลื่อนไหวละเอียด, การรักษาสมดุล, ท่าทางและตำแหน่งของร่างกาย, และการเรียนรู้การสั่งการ การสังเกตของนักสรีรวิทยาในช่วงศตวรรษที่ 18 บ่งชี้ว่าผู้ป่วยที่เกิดความเสียหายที่ซีรีเบลลัมจะมีปัญหาในการประสานการสั่งการ (motor coordination) และการเคลื่อนไหว การวิจัยเกี่ยวกับหน้าที่ของซีรีเบลลัมในช่วงต้นถึงกลางศตวรรษที่ 19 จะศึกษาจากรอยโรคและการลองตัดซีรีเบลลัมในสมองของสัตว์ทดลอง นักวิจัยทางสรีรวิทยาได้บันทึกว่ารอยโรคดังกล่าวทำให้สัตว์มีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ, ท่าเดินเงอะงะ, และกล้ามเนื้ออ่อนแรง จากการสังเกตในช่วงเวลานั้นทำให้เกิดข้อสรุปว่าซีรีเบลลัมเป็นโครงสร้างเกี่ยวกับการควบคุมการสั่งการ อย่างไรก็ตามในการวิจัยสมัยใหม่แสดงว่าซีรีเบลลัมมีหน้าที่ที่หลากหลายกว่าไม่ว่าจะเป็นหน้าที่เกี่ยวกับกระบวนการคิด (ประชาน; cognition) , เช่น ความใส่ใจ, และกระบวนการทางภาษา, ดนตรี, และสิ่งกระตุ้นชั่วคราวอื่นๆ ซีรีเบลลัมตั้งอยู่บริเวณด้านหลังเยื้องด้านล่างของศีรษะ (บริเวณสมองส่วนท้าย (rhombencephalon)) ด้านหลังของพอนส์ (pons) และด้านล่างกลีบท้ายทอย (occipital lobe) ของซีรีบรัม ซีรีเบลลัมประกอบด้วยเซลล์แกรนูล (granule cell) ขนาดเล็กๆ จำนวนมาก ส่วนนี้จึงมีเซลล์ประสาทมากกว่า 50% ของสมองทั้งหมด แต่มีปริมาตรเพียง 10% ของปริมาตรสมองรวม ซีรีเบลลัมรับใยประสาทนำเข้ามากถึงประมาณ 200 ล้านใย ในขณะที่เส้นประสาทตา (optic nerve) ประกอบด้วยใยประสาทเพียงหนึ่งล้านใย ซีรีเบลลัมแบ่งออกเป็นครึ่งซ้ายและขวาเช่นเดียวกับซีรีบรัม และแบ่งออกเป็นกลีบย่อยๆ 10 กลีบ การเรียงตัวของเซลล์ประสาทในซีรีเบลลัมมีลักษณะเป็นแบบเดียวกันทั้งหมด คือเชื่อมต่อเป็นชุดของวงจรในแนวตั้งฉาก การเรียงตัวเป็นแบบเดียวกันดังกล่าวทำให้ง่ายต่อการศึกษาวงจรประสาท


วันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2559

สมอง Brain


สมอง (อังกฤษ: Brain) คืออวัยวะสำคัญในสัตว์หลายชนิดตามลักษณะทางกายวิภาค หรือที่เรียกว่า encephalon จัดว่าเป็นส่วนกลางของระบบประสาท คำว่า สมอง นั้นส่วนใหญ่จะเรียกระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์มีกระดูกสันหลัง คำนี้บางทีก็ใช้เรียกอวัยวะในระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอีกด้วย



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ why สมอง


สมองถูกเก็บรักษาอยู่ภายในกระโหลกศีรษะที่Aแข็งและหนา โดยมีของเหลวที่เรียกว่า น้ำเลี้ยงสมองและไขสันหลัง เป็นตัวช่วยลดแรงกระแทกแทรกอยู่ ทำให้สมองเป็นอวัยวะที่ได้รับการปกป้องมากที่สุดในร่างกาย



                     สมองมีหน้าที่ควบคุมและสั่งการการเคลื่อนไหว, พฤติกรรม และภาวะธำรงดุล (homeostasis) เช่น การเต้นของหัวใจ, ความดันโลหิต, สมดุลของเหลวในร่างกาย และอุณหภูมิ เป็นต้น หน้าที่ของสมองยังมีเกี่ยวข้องกับการรู้ (cognition) อารมณ์ ความจำ การเรียนรู้การเคลื่อนไหว(motor learning) และความสามารถอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้
สมอง เป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย มีหน้าที่เกี่ยวกับ การจดจำการคิด และความรู้สึกต่างๆ สมอง ประกอบด้วยตัวเซลล์ประมาณ 10 พันล้านตัว ถึง 12 พันล้านตัว แต่ละตัวมีเส้นใยที่เรียกว่า แอกซอน (Axon) และเดนไดรต์ (Dendrite) สำหรับให้ กระแสไฟฟ้าเคมี (Electrochemical) แล่นผ่านถึงกัน การที่เราจะคิด หรือจดจำสิ่งต่างๆนั้น เกิดจากการเชื่อมต่อของ กระแสไฟฟ้า ใน สมอง คนที่ฉลาดที่สุดก็คือ คนที่สามารถใช้ กำลังไฟฟ้า ได้เต็มที่โครงสร้างของสมอง 


สมองมีหน้าที่ควบคุมและสั่งการการเคลื่อนไหว, พฤติกรรม และภาวะธำรงดุล (homeostasis) เช่น การเต้นของหัวใจ, ความดันโลหิต, สมดุลของเหลวในร่างกาย และอุณหภูมิ เป็นต้น หน้าที่ของสมองยังมีเกี่ยวข้องกับการรู้ (cognition) อารมณ์ ความจำ การเรียนรู้การเคลื่อนไหว(motor learning) และความสามารถอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้


สมองประกอบด้วยเซลล์สองชนิด คือ เซลล์ประสาท และเซลล์เกลีย เกลียมีหน้าที่ในการดูแลและปกป้องนิวรอน นิวรอนหรือเซลล์ประสาทเป็นเซลล์หลักที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้าที่เรียกว่า ศักยะงาน (action potential) การติดต่อระหว่างนิวรอนนั้นเกิดขึ้นได้โดยการหลั่งของสารเคมีชนิดต่าง ๆ ที่รวมเรียกว่า สารสื่อประสาท (neurotransmitter) ข้ามบริเวณระหว่างนิวรอนสองตัวที่เรียกว่าไซแนปส์ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลงต่าง ๆ ก็มีนิวรอนอยู่นับล้านในสมอง สัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่มักจะมีนิวรอนมากกว่าหนึ่งร้อยล้านตัวในสมอง สมองของมนุษย์นั้นมีความพิเศษกว่าสัตว์ตรงที่ว่ามีความซับซ้อนและใหญ่กว่าเมื่อเทียบกับขนาดตัวของมนุษย์

***  น้ำเลี้ยงสมองและไขสันหลังสร้างมาจากเส้นเลือดฝอยบริเวณโพรงสมอง และไหลติดต่อ

กับระบบหมุนเวียนเลือด โดยทำหน้าที่ในการหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลังให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ
และให้อาหาร แก๊สออกซิเจนแก่เซลล์ประสาท ในขณะเดียวกันก็ถ่ายเทของเสียออกจาก
เซลล์ประสาท
เยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง (meninges) เป็นระบบของเยื่อหุ้มที่ปกคลุมระบบประสาทกลาง เยื่อหุ้มสมองประกอบด้วยชั้น 3 ชั้นได้แก่ เยื่อดูรา หรือเยื่อหุ้มสมองชั้นนอก (dura mater) , เยื่ออะแร็กนอยด์ หรือเยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง (arachnoid mater) , และเยื่อเพียหรือเยื่อหุ้มสมองชั้นใน (pia mater) หน้าที่หลักของเยื่อหุ้มสมองและน้ำหล่อสมองไขสันหลัง (cerebrospinal fluid) คือเพื่อปกป้องระบบประสาทกลาง