เซรีบรัม
เซรีบรัม คือ สมองส่วนที่อยู่บนสุดและมีขนาดใหญ่ที่สุด ซึ่งมีน้ำหนักรวมกันประมาณร้อยละ 85 ของน้ำหนักสมองทั้งหมด
ลักษณะที่สำคัญ
1.ชั้นอกหนาประมาณ 3 มิลลิเมตร เรียกว่า เซรีบรัมคอร์เทกซ์ (cerebrum cortex) มีรอยพับเป็นร่องหรือรอยหยักจำนวนมาก และมีเนื้อสมองสีเทา ที่ประกอบด้วยตัวเซลล์ประสาทจำนวนมากและใยประสาทที่ไม่มีเยื้อหุ้มไมอีลินหุ้มเป็นส่วนใหญ่
2.ภายใต้เซรีบรัมคอร์เทกซ์ เป็นชั้นหนาของเนื้อสีขาว ประกอบด้วย แอกซอนที่มีเยื่อไมอีลินหุ้มเป็นส่วนใหญ่ ทำให้มีลักษณะเป็นสีขาวเนื่องจากเยื่อไขมันไมอีลิน
3.เซรีบรัมแบ่งออกเป็น 2 ซีกด้วยร่องลึกตรงกลาง มีมัดเส้นใยแอกซอนหลายมัดติดต่อระหว่าง 2 ซีก มัดใหญ่ที่สุดเรียกว่า corpus callosum สมองแต่ละซีกทำหน้าที่ควบคุมกล้ามเนื้อซีกตรงข้ามของร่างกาย
4.ร่องหรือรอยหยักแบ่งเซรีบรัมคอร์เทกซ์ออกเป็นส่วนๆชัดเจน 4 พู (lobe) ได้แก่
Frontal lobe - ศูนย์ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อลาย (motor area)
- ศูนย์ควบคุมเกี่ยวกับการพูด
- ควบคุมเกี่ยวกับบุคลิกภาพ
- ควบคุมความฉลาดระดับสูง ได้แก่ สมาธิ การวางแผน การตัดสินใจ
Parietal lobe - ศูนย์ควบคุมการรับความรู้สึก (sensory area)
- ความเข้าใจและการใช้คำพูด
Temporal lobe - ศูนย์การได้ยิน (auditory area)
- ความจำ (memory area)
Occipital lobe - ศูนย์การมองเห็น (visual area) เช่น การเพ่งมอง การแปลสิ่งที่มอง
2.Hypothamus
เป็นสมองส่วนที่เป็นทางติดต่อกับเซรีบรัมกับก้านสมอง โดยไฮโพทาลามัสอยู่ใต้ทาลามัส และค่อนไปทางด้านหน้าติดกับต่อมใต้สมองส่วนหน้า (pituitary gland)
หน้าที่ของไฮโพทาลามัส
มีหน้าที่หลักเกี่ยวข้องกับการผสมผสานการทำงานของระบบประสาทกับอวัยวะต่างๆให้สอดคล้องกัน
1.ศูนย์ควบคุมการเต้นของหัวใจ (cardiovascular regulation)
2.ศูนย์ควบคุมอุณหภูมิ (body temperature regulation)
3.ศูนย์ควบคุมสมดุลน้ำและเกลือแร่ (regulation of water and electrolyte balance)
4.ศูนย์ควบคุมการนอนหลับ ความหิว ความอิ่ม ความกระหาย
5.ศูนย์ควบคุมอารมณ์และความรู้สึกต่างๆ
6.สร้างฮอร์โมนประสาทที่ส่งไปควบคุมการหลั่งฮอร์โมนของต่อมใต้สมองส่วนหน้า
3.Olfactory Bulb
ทำหน้าที่
- ดมกลิ่น (ปลา , กบและสัตว์เลื้อยคลานสมองส่วนนี้จะมีขนาดใหญ่) ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมออลแฟกทอรีบัลบ์จะไม่เจริญ แต่จะดมกลิ่นได้ดีโดยอาศัยเยื่อบุในโพรงจมูก
4.Thalamus
ทาลามัส (Thalamus)
เป็นศูนย์รวมกระแสที่ผ่านเขาออก และแยกกระแสประสาทไปยังสมองที่ เกี่ยวกับประสาทนั้น หรืออาจเรียกว่าเป็นสถานีถ่ายถอดกระแสประสาทเพื่อส่งไปยังจุดต่างๆ ในสมอง และยังทำหน้าที่ในการรับรู้ความเจ็บปวด ทำให้มีการสั่งการ และสดงออกด้านพฤติกรรมด้านความเจ็บปวด
ทาลามัสอยู่เป็นคู่ตั้งอยู่ใจกลางสมองของสัตว์มี กระดูกสันหลังรวมทั้งมนุษย์ด้วย ทาลามัสอยู่ระหว่างเปลือกสมองใหญ่ (Cerebral Cortex) กับสมองส่วนกลาง (Mid brain) ที่ตั้งอยู่ใจกลาง และเป็นศูนย์ศูนย์รวมประสาทสั่งการ มีหน้าที่ส่งผ่านกระแสประสาทประสาทสัมผัสจำเพาะ(Special Sense)และส่งผ่านไปยัง(Cerebral Cortex)หรือเปลือกสมองใหญ่ เป็นไปตามภาวะปกติของความมีสติ (Conciousness) ในยามหลับและยามตื่น ทาลามัสจะห้อมล้อมรอบๆ เซอด เวนตริเคิล (Third Ventricle)
มัน เป็นผลผลิตหลักของเอ็มบริโอนิค ไดเอนซีฟาโลน (Cmbryonic Diencephalon) หรือตัวอ่อนของสมองส่วนกลางทาลามัสเป็นโครงสร้างใหญ่สุดของสมองส่วนกลาง ซึ่งเป็นส่วนของสมองที่ตั้งอยู่ระหว่างสมองส่วนกลาง (Mid brain) มีเซนซีฟาโลน และสมองส่วนหน้า เทเลซีฟาโลน (Telecephalon)
ในมนุษย์ ครึ่งหนึ่งของทาลามัสแต่ละอันมีรูปร่างเหมือนจุกยางกลมๆคล้ายปลายเทอร์โมมิเตอร์ สามารถบีบและคลายตัวได้
ด้านสรีระ
ทาลามัสอยู่บนสุดของก้านสมอง ใกล้กลับใจกลางของสมองอยู่ในตำแหน่งที่สามารถส่งกระแสประสาทออกไปสู้ส่วน ต่างของสมองได้ในทุกทิศทางสมองส่วนกลาง (Diencephalon) ยังประกอบด้วย อิพทาลามัส (Epithalamus) และเรติลูเลทนิวเคลียส (Reticulate Nucleus)
หน้าที่
หน้าที่
หน้าที่โดยทั่วไปคือ ส่งผ่านระหว่าง ซับตอร์ทีคอล (Subcortical) และเปลือกสมองใหญ่ (Cerebral Cortex) หน้าที่สำคัญ คือ ช่วยในการทำงานของระบบสัมผัส (Special Sense) ทาลามิคนิวเคลียสจะรับและส่งต่อข้อมูลไปยังส่วนแรกของคอร์ทีคอล (Cortical Area) เช่นรับภาพจากจอภาพตาหรือเรตินาแล้วส่งไป เลเทอรัล เจนิคูเลท นิวเคลียส (Lateral Geniculate Nucleus) ในทาลามัสซึ่งจะฉ่ายไปสู่ส่วนแรกของสมองที่รับรู้ความรู้สึกในการมองเห็น ไพรมารี วิซอน คอร์เทกซ์ (Primary visval cortex) ในกรีบท้ายทอยหรือออคซิพิตัลลู๊บ (Occital Lode) ทาลามัสจะดำเนินการทั้งรับรู้ข้อมูลและส่งผ่านข้อมูลทาลามัสจะคอยควบคุมความมี สติ การตื่นเต้นการระมัดระวังการแสดงออก ถ้าทาลามัสถูกทำลาย จะทำให้ร่างกายเกิดอาการเจ็บปวดรุนแรงที่เรียกว่าโคม่า
|
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น